วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การระดมสมอง (BRAINSRORMING)


          

        การระดมสมอง เป็นเทคนิคการสอนที่ให้ความสำคัญกับการคิดอย่างสร้างสรรค์มากกว่าการปฏิบัติจริง  กลุ่มผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้แสดงความคิดในทุกแง่มุมเท่าที่เป็นไปได้ไม่ว่าความคิดนั้นจะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติหรือไม่ก็ตาม  ผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นว่าอิสระอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
วัตถุประสงค์
1.          เพื่อแสดงความคิดเห็นด้วยจินตนาการใหม่ ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ก่อนที่จะนำไปสู่การประเมินสรุปในระดับกลุ่ม
2.          เพื่อส่งเสริมให้คนที่ชอบการปฏิบัติ คิดนอกเหนือไปจากปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และคิดในเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพ
3.          เพื่อให้ผู้เรียนได้หลุดออกจากปัญหาเมื่อเทคนิคการคิดแบบเก่า ๆ ไม่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้
4.          เพื่อพัฒนาการคิดอย่างสร้างสรรค์
ข้อดี
1.          ผู้เรียนส่วนใหญ่ตื่นเต้นกับการแสดงออกอย่างอิสระอันเป็นลักษณะของการระดมสมอง
2.          สามารถพบทางออกของปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้มาก่อน
3.          สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้รับการกระตุ้นให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
ข้อเสีย
1.          ผู้เรียนส่วนใหญ่พบความลำบากที่จะหลุดออกจากความคิดในทางปฏิบัติแบบเดิม ๆ
2.          คำแนะนำส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่มีประโยชน์หรือคุณค่าอะไรเลย
3.          ในการสรุปจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น
การจัดสภาพแวดล้อม
1.           ห้องประชุมพร้อมกับกระดานไวท์บอร์ดเพื่อบันทึกความคิดเห็นอย่างรวดเร็วแบบหยาบ ๆ เพื่อนำไปสู่ช่วงของการถกปัญหาสนทนากลุ่ม
2.           ควรจัดให้เป็นโต๊ะประชุม หรือรูปครึ่งวงกลมเพื่อให้การถกประเด็นปัญหาเกิดขึ้นได้ทันทีหลังจากการระดมสมอง
ขั้นตอนการดำเนินการ
1.          ครูผู้สอนอธิบายขั้นตอนการดำเนินการ และเลือกผู้บันทึกเพื่อเขียนรายการข้อเสนอแนะจากกลุ่ม
2.          เมื่อมีการเสนอแนะข้อคิดเห็นให้เขียนบันทึกไว้บนกระดานให้ทุกคนเห็น
3.          กรณีมีข้อเสนอแนะที่จะต้องนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในเชิงปฏิบัติก็ให้พิจารณาความคิดนั้นทันที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น