วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รวมหนังสือ e-learning

     ผมรวบรวมเอกสารและคู่มือสำหรับการเรียนรู้ทางด้าน e-Learning  จำนวนมาก ไว้ดังนี้
1.การออกแบบการเรียนการสอนด้วยระบบ e-Learning
2.การออกแบบ E-Learning
3.ความหมายของ e-Learning
4.การสร้างระบบ E – learning ด้วย Moodle
5.หนังสือการออกแบบผลิตและพัฒนา e-Learning
6.หนังสือแนวโน้มการจัดการเรียนการสอนยุค 2011
7.หนังสือการสร้างเว็บมัลติมีเดียอย่างง่ายด้วยโปรแกรม SWiSHmax
8.การประเมินประสิทธิภาพของบทเรียน E-learning
9.การสร้างสื่อ E-Learning โดยการประยุกต์ใช้ Prezi
10.บทเรียนบนเว็บและ e-Learning
11.ทำความรู้จักกับ e-learning กันเถอะ
12.E-Learning ก้าวไปสู่M-Learning ในยุคสังคมของการสื่อสารไร้พรมแดน

การออกแบบการเรียนการสอนด้วยระบบ e-Learning

            ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร (ICT-Information and Communication Technology) เป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้เข้ามาประยุกต์ใช้ในการจัดการการศึกษา เพื่อให้การศึกษามีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รองรับการพัฒนาและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในสังคม/เศรษฐกิจแห่งความรู้ (knowledge-based economy/society) การใช้ e-Learning นับเป็นวิถีทางอย่างหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน โดยการใช้วิวัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการศึกษา
            การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-Learning เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่น ๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย (e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)

การนำ e-Learning ไปใช้ประกอบการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
            1. สื่อเสริม (supplementary) นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e-Learning แล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่น ๆ เช่น จากเอกสารประกอบการสอน เป็นต้น การใช้ e-Learning ในลักษณะนี้ผู้สอนเพียงต้องการให้ผู้เรียนมีทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับการเข้าถึงเนื้อหา
            2. สื่อเติม (complementary) ผู้สอนออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e-Learning
            3. สื่อหลัก (comprehensive replacement) เป็นการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดออนไลน์

องค์ประกอบของ e- learning ที่สำคัญมี 4 ส่วน คือ
            1.เนื้อหา (content) สำหรับการเรียน การศึกษาแล้วไม่ว่าจะเรียนอย่างไรก็ตามเนื้อหาถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด e-Learning ก็เช่นกัน
            2.ระบบบริหารการเรียน หรือ LMS ซึ่งย่อมาจาก e-Learning Management System ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารและการกำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน แล้วนำส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ซึ่งรวมไปถึงขั้นตอนการประเมินผล ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน ระบบบริหารการเรียนจะทำหน้าที่ตั้งแต่ผู้เรียนเริ่มเข้ามาเรียน โดยจัดเตรียมหลักสูตร บทเรียนทั้งหมดเอาไว้พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้เข้ามาเรียน เมื่อผู้เรียนได้เริ่มต้นบทเรียนแล้วระบบจะเริ่มทำงานโดยส่งบทเรียนตามคำขอของผู้เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปแสดงที่ web browser ของผู้เรียน จากนั้นระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรมและผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียด จนกระทั่งจบหลักสูตร
            3.การติดต่อสื่อสาร มีเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อสอบถาม ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับครู อาจารย์ผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
                 · ประเภทช่วงเวลาเดียวกัน (synchronous) ได้แก่ chat
                 · ประเภทช่วงเวลาต่างกัน (asynchronous) ได้แก่ web-board, e-mail
            4.การสอบ/วัดผลการเรียน  โดยทั่วไปแล้วการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระดับใด หรือเรียนวิธีใด ก็ย่อมต้องมีการสอบ/การวัดผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ การสอบ/วัดผลการเรียนจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนแบบ e-Learning เป็นการเรียนที่สมบูรณ์ บางวิชาจำเป็นต้องวัดระดับความรู้ก่อนสมัครเข้าเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนในบทเรียน หลักสูตรที่เหมาะสมกับตนมากที่สุด ซึ่งจะทำให้การเรียนที่จะเกิดขึ้นเป็นการเรียนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเข้าสู่บทเรียนในแต่ละหลักสูตรก็จะมีการสอบย่อยท้ายบท และการสอบใหญ่ก่อนที่จะจบหลักสูตร

เนื้อหาของ e-learning สามารถแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้
            1. ระดับเน้นข้อความออนไลน์ (text online)  เนื้อหาจะอยู่ในรูปของข้อความเป็นหลัก ซึ่งมีข้อดีคือเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการผลิตเนื้อหาและการบริหารจัดการรายวิชาโดยผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง
            2. ระดับรายวิชาออนไลน์เชิงโต้ตอบและประหยัด (low cost interactive online course) เนื้อหาจะอยู่ในรูปตัวอักษร ภาพ เสียง และวีดีทัศน์ ที่ผลิตขึ้นมาอย่างง่าย ๆ ซึ่งควรมีการพัฒนา LMS ที่ดี เพื่อช่วยผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาในการสร้างและปรับเนื้อหาให้ทันสมัยได้ด้วยตนเอง
            3. ระดับรายวิชาออนไลน์คุณภาพสูง (high quality online course) เนื้อหาจะอยู่ในรูปของมัลติมีเดียที่มีลักษณะมืออาชีพ การผลิตต้องใช้ทีมงานในการผลิตที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (content experts) ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบการสอน (instructional designers) และผู้เชี่ยวชาญการผลิตมัลติมีเดีย (multimedia experts) เนื้อหาในระดับนี้ต้องมีการใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมเฉพาะสำหรับการผลิตและเรียกดู เช่น Macromedia Flash หรือ Flash Player เป็นต้น

ข้อดีของ e-Learning
            1. e-Learning ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านมัลติมีเดียที่ได้รับการออกแบบและผลิตอย่างมีระบบจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการเรียนจากสื่อข้อความเพียงอย่างเดียว
            2. e-Learning ช่วยให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา
            3. e-Learning ช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนรู้ของตนเองได้ โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลใดก่อนหรือหลังก็ได้ ตามพื้นฐานความรู้ ความถนัด และความสนใจของตน ทำให้ได้รับความรู้และมีการจดจำที่ดีขึ้น
            4. e-Learning ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับครูผู้สอน และกับเพื่อน ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ มากมาย
            5. e-Learning เป็นการเรียนที่ผู้เรียนแต่ละคน จะได้รับเนื้อหาของบทเรียนเหมือนเดิมทุกครั้ง
            6. e-Learning ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ รวมทั้งเนื้อหามีความทันสมัย และตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันได้อย่างทันที
            7. e-Learning ทำให้เกิดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนในวงกว้างขึ้น เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 ข้อที่ควรคำนึงถึงของ e-Learning
            1. ความสำคัญของ e-Learning อยู่ที่การออกแบบ  ดังนั้นแม้ว่าเนื้อหา วิธีการ ที่มีอยู่จะส่งผ่านระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพอย่างไรก็ตาม แต่ถ้ารูปแบบไม่น่าสนใจ ไม่สามารถดึงความสนใจของผู้เรียนไว้ได้ ก็ทำให้ผู้เรียนไม่อยากเรียน ก็จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการศึกษาหาความรู้ การนำ e-Learning ไปใช้ นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จแล้วยังทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายและเสียเวลาอีกด้วย
            2. การใช้ e-Learning ต้องมีการลงทุนในเรื่องเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พร้อมด้วยอุปกรณ์มัลติมีเดีย และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ต้องเข้ากันได้ดี และต้องคำนึงถึงการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการติดต่อสื่อสารทั้งระหว่างผู้เรียน ผู้สอนอีกด้วย

            การเรียน การอบรมสัมมนาแบบ e-learning ออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญก็คือ การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากกันและกัน และที่สำคัญอีกประการคือ ผู้สอนเองจะต้องมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบทันควันให้กับผู้เรียน เพื่อทำให้ผู้เรียนไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือถูกทอดทิ้ง และจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศให้เกิดการแสดงความคิดเห็น แต่อย่างไรก็ตามผู้เรียนจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเรียนของตนเอง มีวินัยและมีการวางแผนระบบการเรียนให้เหมาะสมกับรูปแบบชีวิตของตนเอง จึงทำให้ e-learning เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
            กลุ่มฝึกอบรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากำลังคนของประเทศอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิทยาศาสตร์และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ ซึ่งหลักสูตรที่ได้ดำเนินการในปี 2547 มีดังนี้ เครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ  สารเคมีและการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ  และเทคนิคการเป็นหัวหน้างาน ผู้สนใจสามารถเข้าไปศึกษาได้ที่ www.e-learning.dss.go.th

เอกสารอ้างอิง
ถนอมพร  เลาหจรัสแสง, ผศ.ดร.  Designing e-Learning : หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน.  กรุงเทพ : อรุณการพิมพ์, 2545. หน้า 3-4,13-20.                                            
โปรดปราน  พิตรสาธร, ดร. และคณะ.  ที่นี่ e-learning.  กรุงเทพ : TJ book, 2547. หน้า 37-43.

วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ดาวน์โหลดหนังสือดีที่น่าอ่าน

    ผมจะทยอยทำลิงค์ให้ดาวน์โหลดเรื่อยๆครับ

รวมเอกสารเขียนแผนการสอน



องค์ประกอบหลักของ แผนการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้
1. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
    คือ สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
    1.1 พุทธิพิสัย (Cognitive) คือ จุดประสงค์ที่เน้นความสามารถทางสมอง (Head) ความรู้ในเนื้อหา และ ทฤษฎี
    1.2 ทักษะพิสัย (Skill) คือ จุดประสงค์ที่เน้นความสามารถทางปฏิบัติ (Hand)
    1.3 จิตพิสัย (Affective) คือ จุดประสงค์ที่เน้นคุณธรรม และจิตใจ (Heart)
    2. การเรียนการสอน (Learning)
    คือ กระบวนการที่จะทำให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
    2.1 สาระการเรียนรู้
    2.2 เนื้อหาวิชา
    2.3 กิจกรรมการเรียนการสอน
    2.4 สื่อการเรียนการสอน
    เช่น การอภิปราย การสาธิต การสืบค้น การทำโครงงาน การวิจัย และทดลองปฏิบัติ เป็นต้น
    3. การวัด และประเมินผล (Evaluation)
    คือ การตรวจสอบว่าผู้เรียนมีพฤติกรรม หรือลักษณะพึงประสงค์ ตามจุดประสงค์การเรียนรู้มากน้อยเพียงใด

        องค์ประกอบ ในการเขียนแผนการสอน หรือเอกสารประกอบการสอน
        -มาตรฐานการเรียนรู้
        -สาระสำคัญ
        -จุดประสงค์การเรียนรู้
        -จุดประสงค์ปลายทาง
        -จุดประสงค์นำทาง
        -เนื้อหาสาระ
        -สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน
        -ลำดับกิจกรรมการเรียนการสอน
        -กิจกรรมการเรียนรู้
        -การวัด และประเมินผล
        -กิจกรรมเสนอแนะ
        -บันทึกผลหลังการสอน
            - ผลการสอน
            - ปัญหาอุปสรรค
            - แนวทางแก้ไข
            - ข้อเสนอแน
         -ชื่อผู้สอน

ดาวน์โหลดเอกสารเขียนแผนการสอน
1.เอกสารประกอบการจัดทำแผน การสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.เทคนิคการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
3.คู่มือเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
4.หลักการเขียนแผนการสอน
5.การเขียนเอกสารประกอบการสอน
6.การจัดทำแผนการสอน
7.การจัดรูปเล่ม แผนการจัดการเรียนรู้แบบเต็ม
8.การวิเคราะห์หลักสูตรรายวิชา. เพื่อการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
9.คู่มือการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design)

           

         
           การออกแบบการสอนเป็นวิธีการระบบ   เพื่อการวิเคราะห์, การออกแบบ, การพัฒนา, การดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย และกิจกรรมการเรียน
          การออกแบบการสอนมุ่ง หมายเพื่อวิธีการสอนที่ยึดถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มากกว่าวิธีการที่ยึดถือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง  จนกระทั่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลเกิดขึ้นได้นี่หมายความว่าจะต้อง ควบคุมกำกับการองค์ประกอบการสอนทุกชนิดด้วยผลลัพธ์ทางการเรียนซึ่งได้รับการ วินิจฉัยภายหลังการวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น)ของผู้เรียน อย่างต่อเนื่องสมบูรณ์
        การออกแบบ (Design)   เป็นกระบวนการของมนุษย์ทางด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการยกระดับความสามารถของตนเอง เพื่อดำเนินกิจกรรมใด ๆ ภายใต้สภาพแวดล้อมและความต้องการ  การออกแบบจึงเป็นกระบวนการที่มีเหตุผลเป็นตรรกะ และมีลำดับขั้น จุดมุ่งหมายของการออกแบบก็เพื่อแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยพิจารณาจากความต้องการ เพื่อกำหนดรายละเอียดของระบบใหม่  การออกแบบระบบการเรียนการสอนถือว่า เป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีกระบวนการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำระบบการเรียนการสอนไปใช้กับผู้เรียนให้เกิดการเรียน รู้อย่างมีประสิทธิภาพ

        สำหรับการออกแบบการเรียนการสอน (ID - Instructional Design)  นักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้หลายประเด็น

        Instructional Design is a Reality คือ การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการของความจริงซึ่งสามารถพิสูจน์ได้  ทั้งระบบการเรียนการสอนมาจากเหตุและผลบนพื้นฐานของความจริง

         Instructional Design is a Process คือ การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนโดยใช้วิธีการระบบตามหลัก การศึกษาและทฤษฎีการเรียนการสอน เพื่อออกแบบบทเรียนให้มีคุณภาพ  แต่ละขั้นตอนจึงมีความสัมพันธ์กันทั้งวัสดุการเรียนและกิจกรรมการเรียน  ในขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นขั้นตอนของการประเมินผล

        Instructional Design is a Discipline คือ การออกแบบการเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่เกี่ยวกับการวิจัยและทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างเป็นระบบและถูกต้อง

        Instructional Design is a Science คือ การออกแบบการเรียนการสอนเป็นวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนการออกแบบ การพัฒนา การทดลองใช้ การประเมินผล และการบำรุงรักษา ภายใต้สถานการณ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
  
       ส่วน คำว่า ระบบการเรียนการสอน (Instructional System) หมายถึง การจัดการเกี่ยวกับข้อมูลและการดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนการสอน ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการออกแบบการเรียนการสอนนั่นเอง
  
        การพัฒนาการเรียนการสอน (Instructional Development) หมายถึง กระบวนการทดลองใช้บทเรียนในขั้นตอนของการออกแบบ

       เทคโนโลยีการเรียนการสอน (Instructional Technology) หมายถึง ระบบหรือเทคนิคที่ประยุกต์มาจากพฤติกรรม ความรู้ความสามารถ และทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาทางด้านการเรียนการสอน เทคโนโลยีการเรียนการสอนจึงมีความหมายเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์หรือการใช้ เครื่องมือเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้

     การออกแบบการเรียนการสอน การพัฒนาการเรียนการสอนและเทคโนโลยีการเรียนการสอน จึงมีความสัมพันธ์กัน
          

สอนสร้าง Augmented Reality ด้วย Vuforia Unity



      วิดีโอสอนสร้าง Augmented Reality ด้วย Vuforia Unity 
                                       

อันนี้คือ Link ดูวิธีการสร้าง มีทั้งหมด 4 ตอน
1.Unity + Vuforia 1 :ทำ AR app ขั้นพื้นฐาน [ Android , ios ]
2.Unity + Vuforia 2 :ทำให้ส่องพร้อมกันหลาย marker ได้ [Android , ios ]
3.Unity + Vuforia 3 : ทำ 3d ให้เคลื่อนที่ได้ [ Android , ios ]
4.Unity + Vuforia 4:ทำ virtual button สร้างปุ่มในโลกจริง

เครดิต : Patcharapon Jantana

คู่มือสร้าง Augmented Reality

       
       Augmented Reality หรือ AR เป็นเทคโนโลยีที่ผสมโลกของความจริง (real world) เข้ากับโลกเสมือน (virtual world) โดยใช้วิธีซ้อนภาพสามมิติที่อยู่ในโลกเสมือน ไปอยู่บนภาพที่เห็นจริงๆ ในโลกของความเป็นจริง ผ่านกล้องดิจิตอลของแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อื่นๆ และให้ผลการแสดงภาพ ณ เวลาจริง (real time) ซึ่งในอนาคตอันใกล้  AR กำลังจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของสังคมที่จะเต็มไปด้วย สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศเช่น Google Glass เป็นต้น
     เอกสารสอนการสร้าง AR (Augmented Reality) มีดังนี้
1.สื่อเสริมการเรียนรู้ โลกเสมือนผสมโลกจริง (Augmented Reality)
2.การผลิตสื่อการเรียนการสอนยุคใหม่สไตล์ Aurasma
3.เมื่อโลกความจริงผนวกเข้ากับโลกเสมือน" (Augmented Reality)
4.การสร้าง AR โดยแอพลิเคชั่น Aurasma
5.การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนบน Tablet ด้วยโปรแกรม Aurasma
6.อาณาจักรสัตว์เสมือนจริง ด้วยเทคโนโลยีAR

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สอนการทำวิจัย


การวิจัยคืออะไร
                   ความหมายของการวิจัย (research)  นี้  มีผู้ที่อยู่ในวงการวิจัยให้คำนิยามไว้มากมาย พอจะประมวลได้ดังนี้
                   การวิจัย  เป็นกระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบระเบียบและมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน  เพื่อให้ได้ความรู้ที่เชื่อถือได้  (บุญธรรม  กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2535: 14)
                   การวิจัย คือกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริง หรือการพยายามค้นหาคำตอบ หรือหาความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม โดยใช้วิธีการศึกษาอย่างมีระเบียบและมีหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (scientific methods)  (นันทวัน  สุชาโต, 2537: 7)
                   การวิจัย คือกระบวนการแสวงหาหรือพัฒนาองค์ความรู้ที่มีลักษณะเป็นนัยทั่วไปอย่างมีระบบแบบแผนโดยวิธีการอันเป็นที่เชื่อถือได้  (ศิริชัย กาญจนวาสี, 2540: 2)
                   การวิจัย  หมายถึง  กระบวนการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการศึกษา  มีการเก็บรวบรวมข้อมูล  การจัดระเบียบ ข้อมูล  การวิเคราะห์และการตีความหมายผลที่ได้จากการวิเคราะห์  ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้อง (สุชาติ  ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2540: 1)
                   หากพิจารณาจากความหมายของการวิจัยดังกล่าว  จะเห็นว่าการวิจัยเป็นการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง

คู่มือนักวิจัย
1.การจัดการเรียนการสอนโดยการเรียนรู้แบบวิจัย
2. เอกสารประกอบการสอนวิชา สถิติและวิจัยทางการศึกษา
3.การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
4.การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน
5.ฐานข้อมูลการ วิจัยการศึกษา
6.คู่มือนักวิจัยมือใหม่

รวมคู่มือ Captivate

         โปรแกรม Captivate เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างมัลติมีเดียบนเว็บ การจับภาพหน้าจอ การทำภาพเคลื่อนไหว และอื่น ๆ โปรแกรม Captivate สามารถสร้างบทเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ สร้างข้อสอบ ได้อย่างดี โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนคำสั่ง เพราะโปรแกรมมีคำสั่งต่าง ๆ ไว้ให้เลือกผ่านทางหน้าจอของโปรแกรม จึงเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย เรียนรู้ได้เร็ว เหมาะสำหรับครู และผู้ที่มีหน้าที่ฝึกอบรมบุคลากร นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Widget หรือเขียน Action Script 3 เพิ่มขีดความสามารถของโปรแกรมได้ และสามารถ ส่งขึ้นเว็บ Youtube ได้ทันที หรือจะทำเป็นไฟล์ PDF ก็ได้
       โปรแกรม Captivate มีจุดประสงค์หลักสำหรับใช้เล่นบนอินเทอร์เน็ต ผ่านทาง Browser หรือใช้กับ LMS โดยส่งออกไปใช้งานเป็น Flash (swf) ตามมาตรฐาน Scorm อย่างไรก็ตาม โปรแกรมสามารถส่งออกเป็นไฟล์ exe และนำไปเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ตได้
     
คู่มือ Captivate
1. Captivate 8.0.1 manual (PDF)
2.Trainer adobe captivate 7
3. คู่มืออบรมเชิงปฎิบัติการ การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Adobe Captivate 7
4.การใช้งานโปรแกรม Adobe Captivate 5
5.55 Free Adobe Captivate 6 Video Tutorials
6.การใช้โปรแกรม Captivate 5.5



รวมงานวิจัยทำผลงานวิชาการ



เอกสารประกอบการเรียนการสอน
ความหมาย
            นิรมล   ศตวุฒิ  และ ศักดิ์ศรี ปาณะกุล (2546, หน้า 10-11) กล่าวว่า เอกสารประกอบการสอน หมายถึง เอกสารวิชาการที่ผู้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งเขียนและเรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้เป็น แนวทางในการสอนหรือเป็นเอกสารเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาเพิ่มเติม ตัวอย่างเอกสารที่ใช้เป็นแนวทางในการสอน เช่น แผนการสอนระยะยาว แผนการสอนรายคาบ เค้าโครงเนื้อหาวิชาทั้งวิชา เป็นต้น ตัวอย่างเอกสารที่จัดทำเป็นเอกสารเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาเพิ่มเติม เช่น สรุปสาระของเนื้อหาวิชาพร้อมทั้งแบบฝึกหัด เป็นต้น
             สนม   ครุฑเมือง (2549, หน้า 90) กล่าวว่า เอกสารประกอบการสอนเป็นเอกสารหรือสื่อที่สร้างและเขียนเพื่อใช้ประกอบการ เรียนการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของสถาบันการศึกษา โดยศึกษาความมุ่งหมายและเนื้อหาสาระของหลักสูตร เพื่อนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างสอดคล้องกับสภาพการสอนจริง เอกสารประกอบการสอนต้องมีเนื้อหาสาระที่ถูกต้อง มีข้อมูลอ้างอิง มีระบบขั้นตอนในการเรียน การจัดทำรูปเล่มอาจตีพิมพ์หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่มก็ได้
            สุนันทา สุนทรประเสริฐ (ม.ป.ป., หน้า 2) ได้กล่าวถึงเอกสารประกอบการเรียนการสอน คือ เอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนของครู หรือประกอบการเรียนของนักเรียนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ควรมีหัวเรื่อง จุดประสงค์ เนื้อหา สาระและกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด
            สรุปได้ว่า เอกสารประกอบการเรียนการสอน หมายถึง สื่อที่ผู้สอนเรียบเรียงเขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่ง ต้องมีเนื้อหาสาระที่ถูกต้อง มีข้อมูลอ้างอิง มีระบบขั้นตอนในการเรียน สำหรับให้ผู้เรียนได้ศึกษาเพิ่มเติม เช่น สรุปสาระของเนื้อหาวิชาพร้อมทั้งแบบฝึกหัด
ควรมีหัวเรื่อง จุดประสงค์ เนื้อหา สาระและกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด

ส่วนประกอบ
           จากการศึกษาส่วนประกอบของเอกสารประกอบการสอนจาก สนม  ครุฑเมือง
(2549, หน้า 90) และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (ม.ป.ป., หน้า 3) สรุปได้ว่า ส่วนลักษณะของเอกสารประกอบการสอนนั้นมีลักษณะเหมือนกับผลงานวิชาการอื่นๆ ทั้งส่วนประกอบของเอกสาร การใช้ภาษา ความถูกต้องของเนื้อหาสาระ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การอ้างอิง และการพิมพ์เผยแพร่ เป็นต้น ผู้เขียนเอกสารประกอบการสอนต้องศึกษาเนื้อหาสาระของคำอธิบายรายวิชาให้ ละเอียดในทุกๆ ประเด็น
             
ส่วนประกอบของเอกสารประกอบการเรียนการสอน มีดังนี้
1. ส่วนนำ ควรมีส่วนประกอบ ดังนี้
   1.1 ปกนอก
   1.2 ปกใน
   1.3 คำนำ
   1.4 สารบัญ
   1.5 จุดประสงค์การเรียนรู้
   1.6 คำแนะนำการใช้เอกสารประกอบ การเรียนการสอน
2. ส่วนเนื้อหา อาจแบ่งเป็นเรื่องย่อย หรือ เป็นตอน ตามลักษณะของเนื้อหา ควรประกอบ ดังนี้
   2.1 ชื่อบท หรือชื่อหน่วย หรือชื่อเรื่อง
   2.2 หัวข้อเรื่องย่อย
   2.3 แบบทดสอบก่อนเรียน
   2.4 เนื้อหาสาระ
   2.5 กิจกรรมท้ายบทเรียน
   2.6 คำถามท้ายบทเรียน
   2.7 แบบทดสอบหลังเรียน
3. ส่วนอ้างอิง
   3.1 เอกสารอ้างอิง
      อาจอยู่ส่วนท้ายเนื้อหาในแต่ละตอน หรืออยู่ท้ายเล่มของเอกสารประกอบการเรียน
      การสอน
   3.2 ภาคผนวก
      เช่น แบบทดสอบ กระดาษคำตอบ และเฉลย เป็นต้น

ขั้นตอนการผลิตเอกสารประกอบการเรียนการสอน
     ถวัลย์  มาศจรัส และพรพรต   เจนสุวรรณ์ (2547, หน้า 20-23) และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (ม.ป.ป., หน้า 3) สรุปได้ว่า เอกสารประกอบการสอน มี 10 ขั้น ดังนี้
   1. วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุจากการเรียนการสอน เพื่อการสร้างเอกสารประกอบการสอน
   2. ศึกษาหลักสูตรโดยละเอียด เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์และกิจกรรม
   3. เลือกเนื้อหาที่เหมาะสม แบ่งเป็นบทเป็นตอน หรือเป็นเรื่องเพื่อแก้ปัญหาที่พบ
   4. ศึกษารูปแบบของการเขียนเอกสารประกอบการสอน และกำหนดส่วนประกอบภายในของเอกสารประกอบการสอน
   5. ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมเนื้อหาสาระจากตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อสร้างจุดประสงค์เนื้อหา วิธีการและสื่อประกอบเอกสารประกอบการสอน
   6. เขียนเนื้อหาในแต่ละตอนโดยละเอียด ซึ่งอาจจะแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยรวมทั้งภาพประกอบ แผนภูมิ และข้อทดสอบให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
   7. ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ นำผลที่ได้มาพิจารณาเพื่อปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง
   8. นำไปทดลองใช้ในห้องเรียนและเก็บบันทึกผลการใช้
   9. นำผลที่ได้มาใช้พิจารณาและปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่อง
  10. นำไปใช้จริงเพื่อแก้ปัญหาจากข้อ 1

ผมได้ทำการรวบรวมเอกสารงานวิจัยสำหรับทำผลงานวิชาการไว้ดังนี้
1. รายงานผลการวิจัยการสร้างและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนวิชาเขียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมพิวเตอร์
2.การ พัฒนาและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการสอน วิชาการออกแบบโปรแกรมใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนักศึกษาระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวัฒนาบริหารธุรกิจ
3.  รายงานผลการวิจัยการสร้างและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนวิชาช่างไมโครคอนโทรลเลอร์
4. การพัฒนาเอกสารประกอบหลักสูตรวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ1
5.รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการติดตั้งไฟฟ้า 1

รวมคู่มือ Sketchup



Google Sketchup คืออะไร
        โปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ Model 3 มิติ สามารถสร้างงานเขียนแบบหรือภาพจำลองได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานโปรแกรม 3 มิติมาก่อน ก็สามารถที่จะเรียนรู้ และลองหัดสร้าง Model 3 มิติด้วยเครื่องมือที่มีให้ในโปรแกรมได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
Sketchup ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท @Last ในปี ค.ศ.1999 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะ
      - พัฒนาโปรแกรมออกแบบ Model 3 มิติ โดยมี Interface ที่เรียบง่ายและใช้งานสะดวก
      - ให้ผู้ใช้งานสนุกกับการสร้างและออกแบบ
      - ทำให้ผู้ออกแบบมีลูกเล่นในส่วนของงานออกแบบและนำเสนอ โดยที่โปรแกรมอื่นๆ ไม่สามารถทำได้
        ปัจจุบัน SketchUp ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ระดับด้วยกันคือ ระดับ Personal Use และแบบมือโปรที่เป็นProfessional Use ซึ่งก็คือ Google SketchUp และ SketchUp Pro นั่นเอง โดยจุดที่แตกต่างกันของทั้งสองประเภทก็คือ การส่ง อ อ ก ไ ฟ ล์ ก า ร ส ร้า ง Interactive Presentations และการพิมพ์ (Print) ที่มีความละเอียด (Resolutions) ที่แตกต่างกัน SketchUp Pro ก็จะมีทุกอย่างที่สมบูรณ์แบบ แต่ใน Google SketchUp ก็จะมีเท่าที่จำเป็น ที่น่าสนใจก็คือ Sketch Up มีฟังก์ชั่นสำหรับการ Get Models และ Share Models โดยที่สามารถนำไฟล์ชิ้นงานสามมิติที่มีผู้อื่นได้ทำไว้แล้ว หรือที่เราได้สร้างขึ้นนำไปแบ่งปันกันผ่านระบบเครือข่าย โดยสร้างระบบคลังข้อมูลขึ้นมาภายใต้ชื่อว่า 3D Warehouse

คู่มือ  Google Sketchup
    1. คู่มือ Google SketchUp pro 7.1
    2. คู่มือการใช้โปรแกรม google sketchup 8

รวมคู่มือ Moodle



Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment
คือ ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ให้มีบรรยากาศเหมือน เรียนในห้องเรียน หรือเรียกว่า
LMS (Learning Management S ystem) หรือระบบจัดคอร์สการเรียนการสอน CMS(Course Management System ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต สำหรับสถาบันการศึกษา หรือครู ใช้เพื่อเตรียมแหล่งข้อมูล กิจกรรม และเผยแพร่แบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต Moodle สามารถนำไปใช้ได้ ทั้งองค์กรระดับ มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถาบัน หรือครูสอนพิเศษ โปรแกรมชุดนี้เป็น Open Source ภายใต้ข้อตกลงของ gnu.org (General Public License) สามารถ download ได้ฟรีจาก
http://moodle.org ผู้พัฒนาโปรแกรมคือ Martin Dougiamas สถาบันการศึกษาใดต้องการนำไปใช้ จัดระบบการเรียนการสอน จะต้องอาศัยผู้ดูแลระบบ( Admin) ที่ความสามารถในการติดตั้ง โดยที่ต้องมี Web Server ที่บริการภาษา php และ mysql

ความสามารถของ moodle

       1. เป็นโปรแกรมจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประเภทฟรีแวร์ ที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก
       2. สามารถเป็นได้ทั้ง CMS (Course Management System) และ LMS (Learning Management System) ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่ เผยแพร่เนื้อหา ของผู้สอน พร้อมบริการให้นักเรียนเข้ามาศึกษา และบันทึกกิจกรรมของนักเรียน
       3. สามารถสร้างแหล่งข้อมูลใหม่ หรือเผยแพร่เอกสารที่ทำไว้ เช่น Microsoft Office, Web Page, PDF หรือ Image เป็นต้น ใจกว้าง ไม่หวงวิชา มีเอกสารที่เคยรวบรวมไว้ ก็ส่งเข้าไปเผยแพร่ได้โดยง่าย
       4. มีระบบติดต่อสื่อสาร ระหว่างนักเรียน เพื่อนร่วมชั้น และผู้สอน เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งคำถามไว้ ครูนัดสนทนาแบบออนไลน์ ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อน เข้าเรียน ก็ได้
       5. มีระบบแบบทดสอบ รับการบ้าน และกิจกรรม ที่รองรับระบบ ให้คะแนนที่หลากหลาย ให้ส่งงาน ให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนแล้ว export ไป excel
       6. สำรองข้อมูลเป็น . zip แฟ้มเดียว ในอนาคตสามารถนำไปกู้คืน ลงไปในเครื่องใดก็ได้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ Moodle

•  องค์ประกอบของ moodle ที่โรงเรียนควรมี
       1. มี Web Browser เช่น Internet explorer ในการติดต่อกับ moodle ทั้งโดยครูผู้สอนและนักเรียน
       2. มี Web Server ที่ให้บริการ php และ mysql
       3. มี ผู้ติดตั้ง ผู้ดูแล และบำรุงรักษา ควรทำโดยนักคอมพิวเตอร์ ที่ที่มีประสบการณ์ เกี่ยวกับการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการเขียนเว็บ
       4. มี ครู นักเรียน และผู้บริหาร ที่ยอมรับในเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้น moodle ไม่เหมาะกับเด็กอนุบาล หรือครูที่ไม่มีไฟ
       5. มี การเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ( LAN)
       ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Moodle
       1. ผู้ดูแลระบบ (Admin) : ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา กำหนดค่าเริ่มต้น และกำหนด สิทธ์การเป็นครูผู้สอน
       2. ผู้สอน ( Teacher) : เพิ่มแหล่งข้อมูล เพิ่มกิจกรรม ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และติดต่อสื่อสาร
       3. ผู้เรียน ( Student) : เข้าศึกษาแหล่งข้อมูล และทำกิจกรรม ตามแผนการสอน
       4. ผู้เยี่ยมชม ( Guest) : เข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และจำกัดสิทธ์ ในการทำกิจกรรม 

คู่มือ Moodle

การระดมสมอง (BRAINSRORMING)


          

        การระดมสมอง เป็นเทคนิคการสอนที่ให้ความสำคัญกับการคิดอย่างสร้างสรรค์มากกว่าการปฏิบัติจริง  กลุ่มผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้แสดงความคิดในทุกแง่มุมเท่าที่เป็นไปได้ไม่ว่าความคิดนั้นจะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติหรือไม่ก็ตาม  ผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นว่าอิสระอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
วัตถุประสงค์
1.          เพื่อแสดงความคิดเห็นด้วยจินตนาการใหม่ ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ก่อนที่จะนำไปสู่การประเมินสรุปในระดับกลุ่ม
2.          เพื่อส่งเสริมให้คนที่ชอบการปฏิบัติ คิดนอกเหนือไปจากปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และคิดในเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพ
3.          เพื่อให้ผู้เรียนได้หลุดออกจากปัญหาเมื่อเทคนิคการคิดแบบเก่า ๆ ไม่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้
4.          เพื่อพัฒนาการคิดอย่างสร้างสรรค์
ข้อดี
1.          ผู้เรียนส่วนใหญ่ตื่นเต้นกับการแสดงออกอย่างอิสระอันเป็นลักษณะของการระดมสมอง
2.          สามารถพบทางออกของปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้มาก่อน
3.          สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้รับการกระตุ้นให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
ข้อเสีย
1.          ผู้เรียนส่วนใหญ่พบความลำบากที่จะหลุดออกจากความคิดในทางปฏิบัติแบบเดิม ๆ
2.          คำแนะนำส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่มีประโยชน์หรือคุณค่าอะไรเลย
3.          ในการสรุปจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น
การจัดสภาพแวดล้อม
1.           ห้องประชุมพร้อมกับกระดานไวท์บอร์ดเพื่อบันทึกความคิดเห็นอย่างรวดเร็วแบบหยาบ ๆ เพื่อนำไปสู่ช่วงของการถกปัญหาสนทนากลุ่ม
2.           ควรจัดให้เป็นโต๊ะประชุม หรือรูปครึ่งวงกลมเพื่อให้การถกประเด็นปัญหาเกิดขึ้นได้ทันทีหลังจากการระดมสมอง
ขั้นตอนการดำเนินการ
1.          ครูผู้สอนอธิบายขั้นตอนการดำเนินการ และเลือกผู้บันทึกเพื่อเขียนรายการข้อเสนอแนะจากกลุ่ม
2.          เมื่อมีการเสนอแนะข้อคิดเห็นให้เขียนบันทึกไว้บนกระดานให้ทุกคนเห็น
3.          กรณีมีข้อเสนอแนะที่จะต้องนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในเชิงปฏิบัติก็ให้พิจารณาความคิดนั้นทันที

การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)



นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงการเรียนแบบร่วมมือไว้ดังนี้
                การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นนวัตกรรมทางการเรียนการสอนแพร่หลายมากขึ้น ตามลำดับโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการพัฒนาเทคนิควิธีขึ้นมากมายหลายรูปแบบ นักวิชาการของไทยหลายท่านได้รวบรวมไว้แล้ว บางท่านเรียกว่า การเรียนรู้แบบสหการ
                การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นวิธีการสอนแบบใหม่ที่นำมาใช้ในห้องเรียนกำหนดให้ผู้เรียนมีความสามารถต่างกันทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยปกติมี 4 คน เป็นผู้เรียนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2 คน และอ่อน 1 คน เวลาเรียนต้องร่วมมือกัน ผู้เรียนเก่งจะช่วยผู้เรียนอ่อน คะแนนเฉลี่ยเป็นของกลุ่ม ผลการเรียนของผู้เรียนจะพิจารณาเป็น 2 ตอน ตอนแรกจะพิจารณาค่าเฉลี่ยของทั้งกลุ่ม ตอนที่สองจะพิจารณาคะแนนสอบเป็นรายบุคคล การสอบทั้ง 2 ครั้ง ผู้เรียนต่างคนต่างสอบ (สุรศักดิ์  หลาบมาลา, 2531 : 4)
                จะเห็นได้ว่าการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นการเรียนแบบกลุ่มที่เน้นให้สมาชิกกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนร่วมกัน การเรียนแบบร่วมมือนี้จะมีหลายรูปแบบมีวิธีการแตกต่างกันไปแต่จะมีจุดร่วมที่เหมือนกัน คือ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียน ผู้เรียนมีความเข้าในบทเรียนและส่งผลให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                รูปแบบของการเรียนแบบร่วมมือ
                รูปแบบของการเรียนแบบร่วมมือ แบ่งออกเป็น 8 รูปแบบดังนี้
                1. Student Teams Achievement Divisions (STAD) สมาชิกในกลุ่ม 4 คน ระดับสติปัญญาต่างกัน เช่น เก่ง 1 คน ปานกลาง 2 คน และอ่อน 1 คนผู้สอนกำหนดบทเรียน ให้ผู้เรียนทั้งชั้น แล้วให้กลุ่มทำงานตามที่กำหนด ผู้เรียนในกลุ่มช่วยเหลือกันเด็กเก่งช่วยและตรวจงานของเพื่อนให้ถูกต้องก่อนนำส่งผู้สอนผู้เรียนต่างคนต่างทำข้อสอบแล้วเอาคะแนนของทุกคนมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม ผู้สอนจัดลำดับของคะแนนทุกกลุ่มปิดประกาศให้ทุกคนทราบ
                2. Team – Games – Tournament (TGT) จัดกลุ่มเช่นเดียวกับ STAD แต่ไม่มีการสอบทุกสัปดาห์ แต่ละทีมมีความสามารถเท่ากันจะแข่งขันตอบปัญหา มีการจัดกลุ่มใหม่ทุกสัปดาห์ โดยพิจารณาจากความสามารถของแต่ละบุคคล
                3. Team Assisted Individualization (TAI) สมาชิกของกลุ่ม 4 คน มีระดับความรู้ต่างกันใช้สำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ผู้สอนเรียกเด็กที่มีความรู้ระดับเดียวกันของแต่ละกลุ่มมาสอนความยากง่ายของเนื้อหาวิชาที่จะสอนแตกต่างกัน เด็กกลับไปยังกลุ่มของตน แต่ละคนต่างทำงานที่ได้รับมอบหมาย แต่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทุกคนสอบข้อสอบ โดยไม่มีการช่วยเหลือกัน มีการให้รางวัลที่ทำคะแนนได้ดีกว่าเดิม
                4. Cooperative Integrated Reading and Composition (CIRC) ใช้สำหรับวิชาอ่านเขียนและทักษะอื่น ๆ ทางภาษา สมาชิกในกลุ่มมี 4 คน มีพื้นฐานความรู้เท่ากัน 2 คน อีก 2 คนก็เท่ากันแต่ต่างระดับความรู้กับ 2 คนแรก ผู้สอนจะเรียกคู่ที่มีความรู้ระดับเท่ากันจากทุกกลุ่มมาสอนคะแนนของกลุ่มพิจารณาจากคะแนนสอบของสมาชิกกลุ่มเป็นรายบุคคล
                5. Jigsaw  ใช้สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 สมาชิกในกลุ่มมี 6 คน ความรู้ต่างระดับกันสมาชิกแต่ละคนไปเรียนร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่น ๆ ในหัวข้อที่แตกต่างกันออกไปแล้วทุกคนกลับมายังกลุ่มของตน แล้วสอนเพื่อนในสิ่งที่ตนไปเรียนร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่น ๆ      การประเมินผล เป็นรายบุคคลแล้วรวมเป็นคะแนนของกลุ่ม
                6. Jigsaw II สมาชิกในกลุ่มมี 4-5 คน ผู้เรียนทุกคนเรียนบทเรียนเดียวกัน สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มให้ความสนใจในหัสข้อย่อยในบทเรียนต่างกัน ใครที่สนใจในหัวข้อเดียวกันจะไปประชุมกัน ค้นคว้าและอภิปรายแล้วกลับมาที่กลุ่มเดิมของตน แล้วสอนเพื่อนในเรื่องที่ตนเองไปประชุมกับสมาชิกกลุ่มอื่นมาผลการสอนของแต่ละคนเป็นคะแนนของกลุ่ม กลุ่มที่ทำคะแนนรวมได้ดีกว่าครั้งก่อนจะได้รับรางวัล
                7. Learning Together สมาชิกในกลุ่ม 4 5 คน ระดับความรู้แตกต่างกันใช้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 ผู้สอนทำการสอนทั้งชั้น เด็กแต่ละกลุ่มทำงานตามที่ผู้สอนมอบหมายคะแนนของกลุ่มพิจารณาจากผลงานของกลุ่ม
                8. Group Investigation สมาชิกในกลุ่มมี 2-6 คน แต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นคว้า สมาชิกในกลุ่มแบ่งงานกันทั้งกลุ่ม เสนอผลงานหรือรายงานหน้าชั้น การให้รางวัลหรือคะแนนให้เป็นกลุ่ม