วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

TCUTED_07_เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนยุคดิจิทัล

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนยุคดิจิทัล  บรรยายโดย ดร.อภิชาติ อนุกูลเวช

TCUTED_06_การใช้บริการแบบกลุ่มเมฆเพื่อการศึกษา (Cloud service in education)

การใช้บริการแบบกลุ่มเมฆเพื่อการศึกษา (Cloud service in education)  บรรยายโดย ดร.อภิชาติ อนุกูลเวช



วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รวมหนังสือ e-learning

     ผมรวบรวมเอกสารและคู่มือสำหรับการเรียนรู้ทางด้าน e-Learning  จำนวนมาก ไว้ดังนี้
1.การออกแบบการเรียนการสอนด้วยระบบ e-Learning
2.การออกแบบ E-Learning
3.ความหมายของ e-Learning
4.การสร้างระบบ E – learning ด้วย Moodle
5.หนังสือการออกแบบผลิตและพัฒนา e-Learning
6.หนังสือแนวโน้มการจัดการเรียนการสอนยุค 2011
7.หนังสือการสร้างเว็บมัลติมีเดียอย่างง่ายด้วยโปรแกรม SWiSHmax
8.การประเมินประสิทธิภาพของบทเรียน E-learning
9.การสร้างสื่อ E-Learning โดยการประยุกต์ใช้ Prezi
10.บทเรียนบนเว็บและ e-Learning
11.ทำความรู้จักกับ e-learning กันเถอะ
12.E-Learning ก้าวไปสู่M-Learning ในยุคสังคมของการสื่อสารไร้พรมแดน

การออกแบบการเรียนการสอนด้วยระบบ e-Learning

            ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร (ICT-Information and Communication Technology) เป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้เข้ามาประยุกต์ใช้ในการจัดการการศึกษา เพื่อให้การศึกษามีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รองรับการพัฒนาและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในสังคม/เศรษฐกิจแห่งความรู้ (knowledge-based economy/society) การใช้ e-Learning นับเป็นวิถีทางอย่างหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน โดยการใช้วิวัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการศึกษา
            การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-Learning เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่น ๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย (e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)

การนำ e-Learning ไปใช้ประกอบการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
            1. สื่อเสริม (supplementary) นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e-Learning แล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่น ๆ เช่น จากเอกสารประกอบการสอน เป็นต้น การใช้ e-Learning ในลักษณะนี้ผู้สอนเพียงต้องการให้ผู้เรียนมีทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับการเข้าถึงเนื้อหา
            2. สื่อเติม (complementary) ผู้สอนออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e-Learning
            3. สื่อหลัก (comprehensive replacement) เป็นการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดออนไลน์

องค์ประกอบของ e- learning ที่สำคัญมี 4 ส่วน คือ
            1.เนื้อหา (content) สำหรับการเรียน การศึกษาแล้วไม่ว่าจะเรียนอย่างไรก็ตามเนื้อหาถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด e-Learning ก็เช่นกัน
            2.ระบบบริหารการเรียน หรือ LMS ซึ่งย่อมาจาก e-Learning Management System ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารและการกำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน แล้วนำส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ซึ่งรวมไปถึงขั้นตอนการประเมินผล ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน ระบบบริหารการเรียนจะทำหน้าที่ตั้งแต่ผู้เรียนเริ่มเข้ามาเรียน โดยจัดเตรียมหลักสูตร บทเรียนทั้งหมดเอาไว้พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้เข้ามาเรียน เมื่อผู้เรียนได้เริ่มต้นบทเรียนแล้วระบบจะเริ่มทำงานโดยส่งบทเรียนตามคำขอของผู้เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปแสดงที่ web browser ของผู้เรียน จากนั้นระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรมและผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียด จนกระทั่งจบหลักสูตร
            3.การติดต่อสื่อสาร มีเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อสอบถาม ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับครู อาจารย์ผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
                 · ประเภทช่วงเวลาเดียวกัน (synchronous) ได้แก่ chat
                 · ประเภทช่วงเวลาต่างกัน (asynchronous) ได้แก่ web-board, e-mail
            4.การสอบ/วัดผลการเรียน  โดยทั่วไปแล้วการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระดับใด หรือเรียนวิธีใด ก็ย่อมต้องมีการสอบ/การวัดผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ การสอบ/วัดผลการเรียนจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนแบบ e-Learning เป็นการเรียนที่สมบูรณ์ บางวิชาจำเป็นต้องวัดระดับความรู้ก่อนสมัครเข้าเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนในบทเรียน หลักสูตรที่เหมาะสมกับตนมากที่สุด ซึ่งจะทำให้การเรียนที่จะเกิดขึ้นเป็นการเรียนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเข้าสู่บทเรียนในแต่ละหลักสูตรก็จะมีการสอบย่อยท้ายบท และการสอบใหญ่ก่อนที่จะจบหลักสูตร

เนื้อหาของ e-learning สามารถแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้
            1. ระดับเน้นข้อความออนไลน์ (text online)  เนื้อหาจะอยู่ในรูปของข้อความเป็นหลัก ซึ่งมีข้อดีคือเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการผลิตเนื้อหาและการบริหารจัดการรายวิชาโดยผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง
            2. ระดับรายวิชาออนไลน์เชิงโต้ตอบและประหยัด (low cost interactive online course) เนื้อหาจะอยู่ในรูปตัวอักษร ภาพ เสียง และวีดีทัศน์ ที่ผลิตขึ้นมาอย่างง่าย ๆ ซึ่งควรมีการพัฒนา LMS ที่ดี เพื่อช่วยผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาในการสร้างและปรับเนื้อหาให้ทันสมัยได้ด้วยตนเอง
            3. ระดับรายวิชาออนไลน์คุณภาพสูง (high quality online course) เนื้อหาจะอยู่ในรูปของมัลติมีเดียที่มีลักษณะมืออาชีพ การผลิตต้องใช้ทีมงานในการผลิตที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (content experts) ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบการสอน (instructional designers) และผู้เชี่ยวชาญการผลิตมัลติมีเดีย (multimedia experts) เนื้อหาในระดับนี้ต้องมีการใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมเฉพาะสำหรับการผลิตและเรียกดู เช่น Macromedia Flash หรือ Flash Player เป็นต้น

ข้อดีของ e-Learning
            1. e-Learning ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านมัลติมีเดียที่ได้รับการออกแบบและผลิตอย่างมีระบบจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการเรียนจากสื่อข้อความเพียงอย่างเดียว
            2. e-Learning ช่วยให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา
            3. e-Learning ช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนรู้ของตนเองได้ โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลใดก่อนหรือหลังก็ได้ ตามพื้นฐานความรู้ ความถนัด และความสนใจของตน ทำให้ได้รับความรู้และมีการจดจำที่ดีขึ้น
            4. e-Learning ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับครูผู้สอน และกับเพื่อน ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ มากมาย
            5. e-Learning เป็นการเรียนที่ผู้เรียนแต่ละคน จะได้รับเนื้อหาของบทเรียนเหมือนเดิมทุกครั้ง
            6. e-Learning ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ รวมทั้งเนื้อหามีความทันสมัย และตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันได้อย่างทันที
            7. e-Learning ทำให้เกิดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนในวงกว้างขึ้น เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 ข้อที่ควรคำนึงถึงของ e-Learning
            1. ความสำคัญของ e-Learning อยู่ที่การออกแบบ  ดังนั้นแม้ว่าเนื้อหา วิธีการ ที่มีอยู่จะส่งผ่านระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพอย่างไรก็ตาม แต่ถ้ารูปแบบไม่น่าสนใจ ไม่สามารถดึงความสนใจของผู้เรียนไว้ได้ ก็ทำให้ผู้เรียนไม่อยากเรียน ก็จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการศึกษาหาความรู้ การนำ e-Learning ไปใช้ นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จแล้วยังทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายและเสียเวลาอีกด้วย
            2. การใช้ e-Learning ต้องมีการลงทุนในเรื่องเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พร้อมด้วยอุปกรณ์มัลติมีเดีย และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ต้องเข้ากันได้ดี และต้องคำนึงถึงการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการติดต่อสื่อสารทั้งระหว่างผู้เรียน ผู้สอนอีกด้วย

            การเรียน การอบรมสัมมนาแบบ e-learning ออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญก็คือ การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากกันและกัน และที่สำคัญอีกประการคือ ผู้สอนเองจะต้องมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบทันควันให้กับผู้เรียน เพื่อทำให้ผู้เรียนไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือถูกทอดทิ้ง และจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศให้เกิดการแสดงความคิดเห็น แต่อย่างไรก็ตามผู้เรียนจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเรียนของตนเอง มีวินัยและมีการวางแผนระบบการเรียนให้เหมาะสมกับรูปแบบชีวิตของตนเอง จึงทำให้ e-learning เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
            กลุ่มฝึกอบรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากำลังคนของประเทศอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิทยาศาสตร์และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ ซึ่งหลักสูตรที่ได้ดำเนินการในปี 2547 มีดังนี้ เครื่องแก้วและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ  สารเคมีและการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ  และเทคนิคการเป็นหัวหน้างาน ผู้สนใจสามารถเข้าไปศึกษาได้ที่ www.e-learning.dss.go.th

เอกสารอ้างอิง
ถนอมพร  เลาหจรัสแสง, ผศ.ดร.  Designing e-Learning : หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน.  กรุงเทพ : อรุณการพิมพ์, 2545. หน้า 3-4,13-20.                                            
โปรดปราน  พิตรสาธร, ดร. และคณะ.  ที่นี่ e-learning.  กรุงเทพ : TJ book, 2547. หน้า 37-43.

วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ดาวน์โหลดหนังสือดีที่น่าอ่าน

    ผมจะทยอยทำลิงค์ให้ดาวน์โหลดเรื่อยๆครับ

รวมเอกสารเขียนแผนการสอน



องค์ประกอบหลักของ แผนการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้
1. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
    คือ สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
    1.1 พุทธิพิสัย (Cognitive) คือ จุดประสงค์ที่เน้นความสามารถทางสมอง (Head) ความรู้ในเนื้อหา และ ทฤษฎี
    1.2 ทักษะพิสัย (Skill) คือ จุดประสงค์ที่เน้นความสามารถทางปฏิบัติ (Hand)
    1.3 จิตพิสัย (Affective) คือ จุดประสงค์ที่เน้นคุณธรรม และจิตใจ (Heart)
    2. การเรียนการสอน (Learning)
    คือ กระบวนการที่จะทำให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
    2.1 สาระการเรียนรู้
    2.2 เนื้อหาวิชา
    2.3 กิจกรรมการเรียนการสอน
    2.4 สื่อการเรียนการสอน
    เช่น การอภิปราย การสาธิต การสืบค้น การทำโครงงาน การวิจัย และทดลองปฏิบัติ เป็นต้น
    3. การวัด และประเมินผล (Evaluation)
    คือ การตรวจสอบว่าผู้เรียนมีพฤติกรรม หรือลักษณะพึงประสงค์ ตามจุดประสงค์การเรียนรู้มากน้อยเพียงใด

        องค์ประกอบ ในการเขียนแผนการสอน หรือเอกสารประกอบการสอน
        -มาตรฐานการเรียนรู้
        -สาระสำคัญ
        -จุดประสงค์การเรียนรู้
        -จุดประสงค์ปลายทาง
        -จุดประสงค์นำทาง
        -เนื้อหาสาระ
        -สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน
        -ลำดับกิจกรรมการเรียนการสอน
        -กิจกรรมการเรียนรู้
        -การวัด และประเมินผล
        -กิจกรรมเสนอแนะ
        -บันทึกผลหลังการสอน
            - ผลการสอน
            - ปัญหาอุปสรรค
            - แนวทางแก้ไข
            - ข้อเสนอแน
         -ชื่อผู้สอน

ดาวน์โหลดเอกสารเขียนแผนการสอน
1.เอกสารประกอบการจัดทำแผน การสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.เทคนิคการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
3.คู่มือเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
4.หลักการเขียนแผนการสอน
5.การเขียนเอกสารประกอบการสอน
6.การจัดทำแผนการสอน
7.การจัดรูปเล่ม แผนการจัดการเรียนรู้แบบเต็ม
8.การวิเคราะห์หลักสูตรรายวิชา. เพื่อการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
9.คู่มือการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design)

           

         
           การออกแบบการสอนเป็นวิธีการระบบ   เพื่อการวิเคราะห์, การออกแบบ, การพัฒนา, การดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย และกิจกรรมการเรียน
          การออกแบบการสอนมุ่ง หมายเพื่อวิธีการสอนที่ยึดถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มากกว่าวิธีการที่ยึดถือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง  จนกระทั่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลเกิดขึ้นได้นี่หมายความว่าจะต้อง ควบคุมกำกับการองค์ประกอบการสอนทุกชนิดด้วยผลลัพธ์ทางการเรียนซึ่งได้รับการ วินิจฉัยภายหลังการวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น)ของผู้เรียน อย่างต่อเนื่องสมบูรณ์
        การออกแบบ (Design)   เป็นกระบวนการของมนุษย์ทางด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการยกระดับความสามารถของตนเอง เพื่อดำเนินกิจกรรมใด ๆ ภายใต้สภาพแวดล้อมและความต้องการ  การออกแบบจึงเป็นกระบวนการที่มีเหตุผลเป็นตรรกะ และมีลำดับขั้น จุดมุ่งหมายของการออกแบบก็เพื่อแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยพิจารณาจากความต้องการ เพื่อกำหนดรายละเอียดของระบบใหม่  การออกแบบระบบการเรียนการสอนถือว่า เป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีกระบวนการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำระบบการเรียนการสอนไปใช้กับผู้เรียนให้เกิดการเรียน รู้อย่างมีประสิทธิภาพ

        สำหรับการออกแบบการเรียนการสอน (ID - Instructional Design)  นักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้หลายประเด็น

        Instructional Design is a Reality คือ การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการของความจริงซึ่งสามารถพิสูจน์ได้  ทั้งระบบการเรียนการสอนมาจากเหตุและผลบนพื้นฐานของความจริง

         Instructional Design is a Process คือ การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนโดยใช้วิธีการระบบตามหลัก การศึกษาและทฤษฎีการเรียนการสอน เพื่อออกแบบบทเรียนให้มีคุณภาพ  แต่ละขั้นตอนจึงมีความสัมพันธ์กันทั้งวัสดุการเรียนและกิจกรรมการเรียน  ในขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นขั้นตอนของการประเมินผล

        Instructional Design is a Discipline คือ การออกแบบการเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่เกี่ยวกับการวิจัยและทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างเป็นระบบและถูกต้อง

        Instructional Design is a Science คือ การออกแบบการเรียนการสอนเป็นวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนการออกแบบ การพัฒนา การทดลองใช้ การประเมินผล และการบำรุงรักษา ภายใต้สถานการณ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
  
       ส่วน คำว่า ระบบการเรียนการสอน (Instructional System) หมายถึง การจัดการเกี่ยวกับข้อมูลและการดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนการสอน ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการออกแบบการเรียนการสอนนั่นเอง
  
        การพัฒนาการเรียนการสอน (Instructional Development) หมายถึง กระบวนการทดลองใช้บทเรียนในขั้นตอนของการออกแบบ

       เทคโนโลยีการเรียนการสอน (Instructional Technology) หมายถึง ระบบหรือเทคนิคที่ประยุกต์มาจากพฤติกรรม ความรู้ความสามารถ และทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาทางด้านการเรียนการสอน เทคโนโลยีการเรียนการสอนจึงมีความหมายเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์หรือการใช้ เครื่องมือเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้

     การออกแบบการเรียนการสอน การพัฒนาการเรียนการสอนและเทคโนโลยีการเรียนการสอน จึงมีความสัมพันธ์กัน